สานตระกร้าจากไม้ไผ่

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การสานตะกร้า


ตะกร้าสิ่งประดิษฐ์ ที่กลายมาเครื่องมือเครื่องใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ  ปัจจุบันนี้แทบจะไม่มีคนจักสานตะกร้าไม้ไผ่เลยเพราะคนสมัยนี้ไม่ค่อยสนใจในวัฒนธรรมเดิมๆเลย ในแต่ละหมู่บ้านหาคนที่จักสานตะกร้าได้น้อยมากบางหมู่บ้านไม่มีเลยด้วยซ้ำ จนวันหนึ่งดิฉันได้เดินทางไปบ้านเพื่อนที่จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ไปเจอคุณตาท่านหนึ่ง ชื่อคุณตาผ่าน เนตะเวน ท่านอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 114 หมู่ที่ 1 บ้านขี้เหล็ก ตำบลขี้เหล็ก อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด ท่านได้เล่าว่าตะกร้าที่ท่านสานไม่ใช้แค่เพียงเอาไว้ใช้งานเท่านั้น แต่ตะกร้าที่ท่านสานนั้นยังสร้างรายได้ให้กับคนแก่อย่างท่านอีกด้วยเพราะมีคนในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียงมาถามซื้อจากท่าน ท่านก็ขายในราคาไม่แพง ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 80 บาท แล้วแต่ขนาดของตะกร้าค่ะ


วิธีการทำตะกร้า
๑. ตัดไม้ไผ่แก่มาผ่าซีกและผ่าแบ่งเป็นเสี้ยวเล็ก ๆ ขนาดประมาณ ๑ ซม. และอีกส่วนหนึ่งผ่าประมาณ ๑ นิ้ว เพื่อใช้ทำขอบปากตะกร้าและมือจับ
๒. นำแต่ละชิ้นที่ผ่าไว้ ลอกใช้แต่ส่วนเปลือก โดยใช้มีดคม ๆ เหลาหรือขูดเนื้อไม้ออกและเหลือแต่ส่วนเปลือกบาง ๆ และเหนียว
๓. เริ่มต้นสานตะกร้า โดยเริ่มที่ก้นก่อน โดยใช้ส่วนที่แข็งกว่าและหนากว่าสานที่ก้น ความยาวของไม้ตามขนาดของตะกร้า เส้นที่แข็งกว่าสานขึ้นตามแนวตั้ง ความห่างเท่า ๆ กัน ส่วนเส้นไม้ไผ่ที่บาง นิ่ม สานตามขวางชั้นมาเรื่อย ๆ แน่น มีลักษณะเป็นวงกลมแต่ปากตะกร้าจะกว้างกว่าก้นตะกร้า พอได้ขนาดตามต้องการใช้ไม้ไผ่ขนาด ๑ นิ้ว ทำให้เป็นวงกลมและวางไว้ที่ขอบปากตะกร้า ใช้ไม่ไผ่ส่วนที่ตั้งขึ้น พัน หรือ บิดลงไปด้านล่าง สานลงไปประมาณ ๑ นิ้ว จนแน่นไม่หลุด ตัดเศษที่เหลือทิ้ง ตกแต่งให้สวยงาม
๔. ใส่หูหรือที่หิ้ว ซึ่งทำจากไม้ไผ่และโค้งงอได้ ใช้เชือกหรือหวายพันให้แน่น หรือใช้เชือกที่เป็นสีพันที่มือจับจนมิด นำไปใช้งานหรือขายได้
๕. หากต้องการเก็บไว้ใช้งานได้นาน ทาเล็กเกอร์เคลือบไม้ไผ่ทั้งด้านในและด้านนอก แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง

ขั้นตอนการทำ

       นำตอกยืน 4 เส้น วัดกึ่งกลางเส้นแล้ววางตัดกันเป็นเครื่องหมาย + เพื่อก่อก้น โดยสานลายสองขัดบีในขั้นตอนนี้จะใช้ตอกยืนทั้งหมด จนได้แผ่นพื้นตะกร้าตามขนาดที่ต้องการจากนั้นนำเข้าแบบพิมพ์ตะกร้า (ตัวแบบพิมพ์ทำจากท่อนไม้เป็นรูปกลมขนาดใหญ่ – เล็กเพื่อสานผนังตะกร้าต่อจากก้นโดยใช้ตอกสานเส้นกลมสานลายหนึ่งคือข้ามหนึ่งสอดหนึ่งโดยใช้เส้นตอกยืนเป็นหลักสานไปเรื่อยๆจนได้ขนาดของตะกร้าตามต้องการโดยให้เหลือส่วนปลายของตอกยืนไว้ ประมาณ 15 ซมเผื่อไว้พับเป็นปากตะกร้าจากนั้นนำออกจากแบบพิมพ์
       การล้มปาก  คือการพับปากตะกร้า  โดยตอกยืนที่เหลือไว้นั้นจับรวมกันจับละ 4-5เส้นแล้วม้วนสอดเข้าตามช่องของปากตะกร้าในลักษณะเอียงล้มไปในทิศทางเดียวกันให้สวยงาม และแข็งแรง ใช้ไม้คัดก้น 2 อัน สอดปลายแหลมเข้าที่มุมก้นตะกร้าในลักษณะไขว้กัน (เครื่องหมาย X) เพื่อให้เกิดความคงรูปแข็งแรง และตอกตีนคือไม้ตรงปล้องไม้ไผ่ทำเป็นปุ่มปลายแหลม จุ่มเทียนแล้วตีเข้ามุมก้นเป็นขาของตะกร้า 4มุม
      การรมควันนำตะกร้าไปรมควันไฟใช้ฟางข้าวที่ไม่ใช้แล้วเป็นเชื้อเพลิงรวมควันเพื่อกันมอดแมลงเพื่อให้เศษไม้ เศษเสี้ยนไม้ไผ่ที่สานหลุดออกสร้างสีสันดูให้เกิดความแข็งแรงแล้วนำไปเข้ารวงตะกร้า  รวงตะกร้าใช้ไม้เสียวหรือตอไม้ไผ่ก็ได้เป็นไม้ที่หาได้จากหมู่บ้านเป็นทรัพยากรในชุมชนที่นำมาใช้ประโยชน์ได้โดยแต่งไม้กลมขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 ซม.ดัดให้โค้งเสียบเข้าขอบปากตะกร้าแล้วใช้หวายหรือเครือไม้ผูกร้อยให้หูรวงและขอบตะกร้ายึดติดกันแน่น นำไปใช้ประโยชน์หรือจำหน่ายได้ หากต้องการความสวยงามเพิ่มขึ้นก็ทาแลกเกอร์เพื่อรักษาไม้และให้ความสวยงาม
       การใช้ประโยชน์ตะกร้าสำหรับใส่สิ่งของทั่วไป ตะกร้าขนาดเล็กเหมาะนำไปเป็นของฝากของที่ละลึกสำหรับใส่ของใช้ชิ้นเล็กน่ารัก



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น